ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membrane, PROM) คือการแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนดในประเทศไทยนั้นพบได้ประมาณร้อยละ 7-12 ของการตั้งครรภ์ สาเหตุของการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีหลายสาเหตุ เช่น ประวัติการคลอดก่อนกำหนด การตั้งครรภ์แฝด ภาวะความผิดปกติของมดลูก หรือการติดเชื้อ Chlamydia, Trichomonas, Yeast, Group B Streptococcus, E.coli, Mycoplasma, Ureaplasma, Gardnerella vaginalis และ Anaerobes เป็นต้น
การทดสอบภาวะถุงน้ำคร่ำแตก ส่วนใหญ่จะดูที่ประวัติของคนไข้ร่วมกับการตรวจด้วยวิธีแบบดั้งเดิม (Conventional method) โดยการนำของเหลวที่ออกมาทางช่องคลอดมาตรวจ pH หรือที่เรียกว่า Nitrazine test ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 4.5 – 6.0 หากของเหลวนั้นเป็นน้ำคร่ำ ค่า pH จะอยู่ที่ 7.1 – 7.3 อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือการนำของเหลวนั้น ๆ ไปส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หากผลปรากฏเป็นรูปใบเฟิร์นใต้กล้องจุลทรรศน์ก็จะแปลผลเป็นบวก อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว หากมีการปนเปื้อนของเลือดหรืออสุจิจะสามารถให้ผลบวกลวงได้ ทำให้ต้องใช้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกโดยไม่จำเป็น ซึ่งนอกจากสูญเสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้เกิดความเสี่ยงอันตราย และเกิดผลข้างเคียงต่อมารดาและทารกในครรภ์อีกด้วย
AmniSure Test เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถวินิจฉัยภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอด โดยใช้หลักการ Immunochromatography เป็นการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางโปรตีน (Protein marker) ชนิด Placental Alpha Microglobulin-1 (PAMG-1) ปริมาณตั้งแต่ 5 ng/ml ในช่องคลอด ใช้ทดสอบกับสิ่งส่งตรวจที่เป็น Cervicovaginal swab จากหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งการปนเปื้อนของปัสสาวะ น้ำอสุจิ หรือเลือด ในสิ่งส่งตรวจไม่ส่งผลกระทบต่อการทดสอบนี้ ชุดทดสอบสามารถทดสอบได้กับทุกช่วงอายุครรภ์ ใช้งานง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอด (Speculum) ร่วมด้วย แผ่นทดสอบมีแถบควบคุม (Control Line) เพื่อควบคุมคุณภาพ สามารถอ่านผลได้ภายใน 5 นาทีด้วยตาเปล่า ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือใด ๆ ในการอ่านผลการทดสอบ ซึ่งการตรวจหาโปรตีนชนิดนี้จะให้ผลที่แม่นยำมากกว่าวิธีแบบดั้งเดิม เป็นชุดตรวจชนิด rapid non-invasive strip test แผ่นทดสอบมีความไว (Sensitivity) อยู่ที่ 98.9% และความจำเพาะ (Specificity) อยู่ที่ 98.1% ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านการรับรองจากประชาคมยุโรป (CE-mark) และมีใบอนุญาตการนำเข้าและจัดจำหน่ายจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย
N Health เปิดให้บริการ Amnisure โดยมีรายละเอียดดังนี้
ที่มา :
• Irogue Igbinosa et al; Comparison of rapid immunoassays for rupture of fetal membranes. BMC Pregnancy and Childbirth (2017) 17:128
• The Royal Australian and New Zealand College of Obstetricians and Gynaecologists (RANZCOG) Guideline 2021
• AmniSure ROM (Rupture of [fetal] Membranes) Test Instructions for Use. QIAGEN, 2015.
• ศ.น.พ.วรพงศ์ ภู่พงศ; Untold Treatment of Preterm Labor.วารสารการประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ.2562 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย