กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ โรคพันธุกรรมที่เป็นหนึ่งในสาเหตุออทิสติก (Fragile X Syndrome)
Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ คือโรคพันธุกรรมที่ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลากหลายตั้งแต่ปัญหาด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม รวมถึงสติปัญญา มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของลำดับพันธุกรรมในยีน FMR1 ที่อยู่บนโครโมโซม X
อาการของโรค
ผู้ที่เป็น Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ จะเริ่มมีพัฒนาการล่าช้าในทักษะการพูดและการสื่อสารตั้งแต่อายุ 2 ขวบ อาการจะมีหลากหลายด้านได้แก่
- ความผิดปกติด้านกายภาพ ใบหน้าผอมยาว, หน้าผากและคางเด่น, หูกาง ตาชิด ในผู้ชายมีอัณฑะขนาดใหญ่.
- ความผิดปกติด้านสติปัญญา การเรียนรู้บกพร่อง พูดช้า
- ความผิดปกติด้านจิตใจ มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ
- ความผิดปกติด้านพฤติกรรม สมาธิสั้น มีปัญหาในการสื่อสาร ไม่สบตาผู้คน
โดยอาการจะรุนแรงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ชายที่เป็นโรคส่วนใหญ่จะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ขณะที่ผู้หญิงจะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเพียง 1 ใน 3
นอกจากนี้ในผู้หญิง อาจจะมีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย (Premature Ovarian Failure; POF) และยังมีรายงานในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงที่เป็น Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะมีเป็นออทิสซึม (Autism Spectrumc Disease; ASD) ถึง 22%
อัตราคนเป็นโรคและพาหะ
อัตราการการเป็น Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ ทั่วโลกอยู่ที่ 1 ใน 4,000 สำหรับผู้ชาย และ 1 ใน 8,000 สำหรับผู้หญิง ส่วนอัตราการเป็นพาหะ (Premutation) ทั่วโลกของผู้หญิงอยู่ที่ 1 ใน 300 สำหรับประเทศไทยมีรายงานพบพาหะในผู้หญิงอยู่ที่ 0.27% อีกทั้งยังพบว่ามีเด็กผู้ชายที่มีปัญหาด้านการพัฒนาการและสติปัญญาแบบไม่ทราบสาเหตุแต่ตรวจวินิจฉัยพบ Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ อยู่ที่ 6.8%
การรักษา
Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด สำหรับเด็กที่มีอาการต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้
ความผิดปกติในพันธุกรรม
ความผิดปกติในพันธุกรรมที่ทำให้เป็น Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะเกิดขึ้นในยีน FMR1 ที่อยู่บนโครโมโซม X โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
1. คนปกติ จะมีการซ้ำของเบส “CGG” ในยีน FMR1 <40 ซ้ำ
2. Intermediate จะมีการซ้ำของเบส “CGG” ในยีน FMR1 41-55 ซ้ำ
3. Premutation จะมีการซ้ำของเบส “CGG” ในยีน FMR1 55-200 ซ้ำ เนื่องจากผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงชุดเดียว ดังนั้นผู้ชายในกลุ่มนี้จะเป็นโรค ส่วนในกลุ่มนี้ผู้หญิงจะเป็นพาหะของโรค ซึ่งมีรายงานว่าหากผู้หญิงในกลุ่มนี้มีลูก ลูกจะมีจำนวนซ้ำของเบส CGG เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลานอาจจะเป็นโรค
4. Full mutation จะมีการซ้ำของเบส “CGG” ในยีน FMR1 >200 ซ้ำ
การผิดปกติในข้อ 3-4 จะส่งผลให้ระดับโปรตีนที่ชื่อ FMRP ซึ่งมีหน้าที่ในระบบประสาทผิดปกติไป
รักษาไม่หายแต่ป้องกันการถ่ายทอดได้
ปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัย Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ โดยการดูจำนวนซ้ำของ CGG ในยีน FMR1 ได้ เพื่อให้บุคคลที่วางแผนจะมีลูกสามารถหาวิธีหรือแนวทางการป้องกันที่จะมีลูกอย่างปลอดโรคได้ โดยบุคคลที่ควรตรวจคัดกรองพาหะ Fragile X Syndrome หรือ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ
1. ครอบครัวที่วางแผนมีลูก
2. มีประวัติคนในครอบครัวเป็น Fragile X Syndrome หรือภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาแบบไม่ทราบสาเหตุ
3. ทารกในครรภ์ที่มีมารดาเป็นพาหะ สามารถตรวจวินิจฉัยจากน้ำคร่ำ
4. ผู้ป่วยที่เคยได้รับการตรวจโครโมโซมพบจุดเปราะในโครโมโซมแต่ยังไม่เคยตรวจดีเอ็นเอ
5. ผู้หญิงมีระดับฮอร์โมน FSH สูงหรือภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย
N Health มีบริการ การตรวจคัดกรองพาหะและวินิจฉัย Fragile X Syndrome ไม่ว่าจะเป็นโรคเดี่ยว (The Heritage by N Health) หรือพร้อมกับโรคอื่นๆ อย่างโรคธาลัสซีเมีย (อัลฟาและเบตา) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก รวมถึงโรคพันธุกรรมอื่นๆ ครอบคลุมสูงสุดถึง 418 โรค ด้วยเทคโนโนโลยีที่แม่นยำ และทันสมัย สามารถตรวจการเป็นพาหะโรคพันธุกรรมของตัวเองได้ที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS / N Health 30 สาขา ทั่วประเทศ
เกร็ดน่ารู้
ทำไม Fragile X syndrome ถึงพบและมีอาการของโรครุนแรงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยปกติโรคพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยว ส่วนใหญ่ จะเป็นโรคก็ต่อเมื่อมีความผิดปกติบนพันธุกรรม 2 ชุด ถ้ามีเพียง 1 ชุดจะเป็นพาหะ แต่ Fragile X Syndrome เป็นโรคที่เกิดบนโครโมโซม X ซึ่งปกติผู้หญิงมีโครโมโซม X 2 ชุด ผู้ชายมีโครโมโซม X 1 ชุด ดังนั้นผู้ชายเมื่อมีความผิดปกติแบบ Premutation ก็จะเป็นโรคทันที เพราะมีโครโมโซม X เพียงชุดเดียว
Ref.
1. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated Jun 24; cited 2020 Jul 1].
2. สารศิริราช ปีที่ 46, ฉบับที่ 3, มีนาคม 2537, หน้า 218-224
3. Songkla Med J Vol. 30 No. 3 May-Jun 2012
4. Pediatrics. 2017 Jun;139(Suppl 3):S194–S206. doi: 10.1542/peds.2016-1159F
5. Marlborough et al. Journal of Neurodevelopmental Disorders (2021)