3.webp
ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร ต่างกับการแพ้อาหารทั่วไปอย่างไร
ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) คือภาวะที่ร่างกายต่อต้านอาหารที่ทานเข้าไป และทำให้เกิดอาการเรื้อรังที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ปวดข้อ
Published

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) คืออะไร และมีอาการอย่างไร

ภูมิแพ้อาหารแฝงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารแบบไหนก็สามารถกลายมาเป็นอาหารแฝงที่คุณแพ้ได้ทั้งนั้น ไม่แน่ว่าบางทีตอนนี้คุณก็อาจจะเป็นภูมิแพ้อาหารแฝงอยู่ก็ได้ เพียงแต่คุณไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเท่านั้นเอง สังเกตไหมว่าทำไมคุณถึงท้องเสียง่าย ท้องอืดบ่อย อยู่ดี ๆ ก็ปวดข้อ นั่งเฉย ๆ ก็คัดจมูก หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงทั้งสิ้น เห็นไหมว่ามันเหมือนอาการปกติทั่วไป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะไม่รู้ตัวมาก่อน แล้วภูมิแพ้อาหารแฝงเกิดจากอะไร? อาหารแฝง มีอะไรบ้าง? สามารถป้องกันได้ไหม? และแตกต่างจากการแพ้อาหารแบบทั่วไปอย่างไร ถ้าอยากรู้ต้องมาหาคำตอบกับ N Health (เอ็น เฮลท์) ในบทความนี้

ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) คือภาวะที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอาหารบางชนิดที่เราทานเข้าไป โดยสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG (Immunoglobulin G) ขึ้นมา ภาวะนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไวต่อสารบางอย่างในอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบในร่างกาย โดยปกติแล้วอาการภูมิแพ้อาหารแฝงจะไม่รุนแรงและไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่ทานเข้าไป มักจะแสดงผลอาการหลังผ่านไปแล้วหลายชั่วโมงหรือหลายวันต่อมา ซึ่งอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงก็จะคล้าย ๆ กับอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน อาทิ ปวดท้อง ท้องอืด ปวดหัว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ ทำให้หลาย ๆ คนไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงกับอาหารบางชนิดอยู่ เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่องก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ภูมิแพ้อาหารแฝงมีอาการอย่างไร

ภูมิแพ้อาหารแฝงมักมีอาการที่ไม่ชัดเจนและไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด จึงยากที่จะรู้ว่าอาหารชนิดใดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น ถึงแม้ว่าอาการจะไม่ได้รุนแรง แต่การเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อาจทำให้สุขภาพชีวิตแย่ลง และกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้ ภูมิแพ้อาหารแฝงส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน ทำให้มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ระบบทางเดินอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลำไส้แปรปรวน จุกเสียดท้อง มีแก๊สมาก
  • ผิวหนัง สิวอักเสบ ผิวแห้ง ผิวบวม ผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแดงตามร่างกาย
  • ระบบทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ หอบหืด
  • ระบบกระดูกและข้อต่อ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
  • ระบบประสาท ปวดหัวเรื้อรัง ไมเกรน
  • อาการอื่น ๆ นอนไม่หลับ ไม่สบายตัว อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอบตาดำ

ตัวอย่างเพิ่มเติม

  • ภาวะย่อยแอลกอฮอล์ไม่ได้ (Alcohol Dehydrogenase Deficiency) หน้าแดง ตัวแดง ร้อนตามตัวหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไมเกรน (Migraine) ถูกกระตุ้นจากอาหารกลุ่ม High Biogenic Amine เช่น ช็อกโกแลต ชีส ผงชูรส คาเฟอีน
  • ภาวะย่อยนมวัวไม่ได้ (Lactose Intolerance) ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียหลังทานผลิตภัณฑ์นม
  • กลุ่มอาการ  Mast Cell หน้าแดง คัน ผื่น ท้องเสีย หลังทานอาหารเผ็ด อาหารแปรรูป และแอลกอฮอล์
  • ภาวะย่อยฟรุกโตสไม่ได้ มีอาการทางเดินอาหารหลังทานผลไม้รสหวานที่มีน้ำตาลฟรุกโตสสูง
  • ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD Deficiency) เม็ดเลือดแดงแตกหลังทานถั่วปากอ้า ไวน์แดง บลูเบอร์รี
  • Intolerance of FODMAPS ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย หลังทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยาก

ภูมิแพ้อาหารแฝง vs แพ้อาหาร ต่างกันอย่างไร

การแพ้อาหารแบบทั่วไปหรือภูมิแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy) และภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) แตกต่างกันที่กลไกการเกิดและลักษณะอาการแสดง โดยการแพ้อาหารแบบทั่วไปเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีชนิด IgE ตอบสนองต่อโปรตีนในอาหาร ทำให้เกิดอาการรุนแรงทันทีหลังรับประทาน แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยอาการมักเกิดภายใน 2-30 นาทีและไม่เกิน 2 ชั่วโมง ส่วนภูมิแพ้อาหารแฝงเกิดจากการสร้างแอนติบอดีชนิด IgG ซึ่งแสดงอาการช้าและสะสมจากการรับประทานซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน

อาการของการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน

  • หน้า ปาก ลิ้น หรือลำคอบวม
  • หายใจลำบาก หอบ แน่นหน้าอก
  • ผื่นลมพิษ คัน แดง ตุ่มนูนตามผิวหนัง
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง
  • อาการช็อก ความดันตก หมดสติ

ซึ่งอาหารที่มักจะทำให้เกิดการแพ้แบบเฉียบพลัน คือ อาหารทะเล นม ไข่ แป้งสาลี และถั่ว สำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารรุนแรงจะต้องพกยาฉีดอะดรีนาลีนติดตัวเสมอ และห้ามรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอาหารที่แพ้โดยเด็ดขาด

อาหารแฝง มีอะไรบ้าง

อาหารทุกชนิดสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝงได้ ทั้งอาหารที่คุณรับประทานบ่อย ๆ ในทุกวัน อาหารที่ทานบ้างเป็นบางครั้ง หรือแม้แต่อาหารที่คุณไม่เคยทานเลยก็สามารถเป็นอาหารแฝงที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นส่วนประกอบในอาหารหลาย ๆ ชนิด อย่างนมวัว ทำให้เราไม่ทันได้สังเกตนั่นเอง ตัวอย่างอาหารที่มักจะถูกพบว่าเป็นสาเหตุของภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่

  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม ชีส โยเกิร์ต เนย ครีม เวย์โปรตีน
  • ธัญพืชที่มีกลูเตน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต
  • ไข่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา
  • ถั่วเปลือกแข็ง อัลมอนด์ วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พิสตาชิโอ
  • ถั่วเมล็ด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแดง
  • เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อแกะ
  • อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลา หอย
  • ผัก มะเขือเทศ พริก แครอท มันฝรั่ง
  • ผลไม้ ส้ม สตรอเบอร์รี่ กีวี่ สับปะรด
  • เครื่องเทศ พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม
  • เครื่องดื่ม กาแฟ ชา ไวน์ เบียร์

H2 รู้ทัน ป้องกันได้ ด้วยการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

ถ้าไม่อยากให้อาการแพ้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงคือทางออกที่ตอบโจทย์ที่สุด เพราะจะช่วยให้คุณรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ นั้น มีสาเหตุมาจากการแพ้อาการชนิดใดบ้าง และแพ้อาหารอะไรบ้าง ซึ่งแม้อาการเหล่านี้อาจไม่รุนแรง แต่ก็มักจะเรื้อรังและสร้างความรำคาญใจ เช่น ปวดหัว อ่อนเพลีย หรือท้องอืดเรื้อรัง เมื่อรู้แล้ว คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นอาการได้อย่างตรงจุด

 

6.แพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง.webp 

แพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงที่ N Health เป็นการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงชนิด IgG จากอาหาร 222 ชนิด โดยแบ่งเป็น 8 หมวดหมู่คือเนื้อสัตว์, ผักและผลไม้, นม, ไข่, ถั่ว, อาหารทะเล, แอลกอฮอล์ และกลูเตน พร้อมการรายงานผลแบบ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปกติ (ไม่พบการแพ้), ระดับปานกลาง (ลดปริมาณการกิน) และระดับสูง (งดอาหารที่แพ้อย่างน้อย 3-6 เดือน จึงจะสามารถกลับมากินได้อีกครั้ง) โดยสามารถเข้ารับการตรวจได้ทุกสาขาทั่วประเทศ (ค้นหาสาขาใกล้บ้านได้ที่นี่คลิก)

การเตรียมตัวก่อนตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

  • งดทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาแก้ภูมิแพ้ และยากดภูมิเป็นระยะเวลา 1 เดือน (ควรพบแพทย์เพื่อประเมินความจำเป็นในการหยุดยา ก่อนเข้ารับบริการ)
  • สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • สวมเสื้อแขนสั้นและสวมใส่สบาย เพื่อให้สะดวกต่อการเจาะเลือดบริเวณข้อพับ

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เหมาะกับใคร

  • คนที่มีอาการท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก ปวดหัว สิวขึ้น ปวดตามข้อ หรือนอนไม่หลับเป็นประจำ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คนที่ต้องการออกแบบการรับประทานอาหารให้เหมาะกับสุขภาพร่างกาย
  • คนที่มีอายุมากกว่า  12 ปีขึ้นไป

บทสรุป

สรุปว่าภูมิแพ้อาหารแฝงคือภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันไวต่อสารบางอย่างในอาหาร ทำให้เกิดการต่อต้านและสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG ขึ้นมา ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการทั่วไปอย่างปวดหัว ปวดท้อง ท้องอืด คัดจมูก ฯลฯ โดยจะเกิดขึ้นหลายจากที่ทานอาหารไปแล้วหลายชั่วโมง ต่างจากการแพ้อาหารทั่วไปที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและมีอาการที่ชัดเจน ทั้งนี้ ภูมิแพ้อาหารแฝงสามารถป้องกันได้โดยการตรวจแพ้อาหารแฝงกับสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง N Health และสามารถรักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน (งดอาหารแฝงที่แพ้ประมาณ 6 เดือน)