women hormone1.webp
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ตัวช่วยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
รู้หรือไม่? ฮอร์โมนเพศหญิงนอกจากจะทำให้ว้าวุ่นแล้ว ยังส่งผลไปถึงเรื่องการวางแผนมีบุตรอีกด้วย
Published

ฮอร์โมนเพศหญิงนอกจากจะทำให้ว้าวุ่นแล้ว ยังส่งผลไปถึงเรื่องการวางแผนมีบุตรอีกด้วย เพราะฮอร์โมนส่งผลไปถึงรอบเดือน ภาวะไข่ตก การปฏิสนธิ และการฝังตัวอ่อน ทำให้การตรวจฮอร์โมนนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อว่าที่คุณแม่ 🤰🏻

 

women hormone2.webp

มาทำความเข้าใจ 8 สัญญาณเตือน

🚨 ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล หากมีอาการเหล่านี้เตรียมตัวตรวจ และปรึกษาแพทย์ได้เลย

📍 มีบุตรยาก

📍 ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ขาด 3 เดือน หรือ 6 เดือน

📍 ช่องคลอดแห้ง

📍 นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท

📍 อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

📍 เป็นสิวเยอะผิดปกติ

📍 เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

📍 ผิว ผม และเล็บ มีภาวะแห้งเสื่อม

 

women hormone3.webp

ข้อดีของการตรวจฮอร์โมนนั้นคือการให้ทั้งร่างกายแข็งแรง 💪🏻 เพราะการตรวจฮอร์โมนสามารถบอกความเสี่ยงได้มากมายจากอาการฮอร์โมนผิดปกติ และยังเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อการวางแผนมีบุตรอีกด้วย

 

women hormone4.webp

แล้วว่าที่คุณแม่ควรตรวจฮอร์โมนอะไรบ้าง?

มาดู 4 ฮอร์โมนที่ควรตรวจสำหรับวางแผนมีบุตร 👶🏻

✅ Luteinizing Hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ หากฮอร์โมนส์ LH เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการตกไข่ภายใน 12 – 36 ชั่วโมง โอกาสในการตั้งครรภ์จะสูงอย่างมาก

✅ Follicle Stimulating Hormone (FHS) ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ หากอยู่ในระดับที่ต่ำ อาจเป็นสัญญาณของโรค PCOS หรือภาวะไข่ตกหลายใบ มักพบถุงน้ำหรือซีสต์ในรังไข่

✅ Estradiol (E2) มีความสำคัญในด้านการตกไข่ หาก E2 ผิดปกติจะส่งผลถึงวงรอบของประจำเดือนและการมีบุตรยาก

✅ Progesterone มีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน กระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว แข็งแรง พร้อมรับการฝังตัวอ่อนในการมีบุตร

 

ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ โดยเฉพาะการมีบุตร ตรวจฮอร์โมน และปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดจะช่วยให้การเตรียมตัวมีบุตรของว่าที่คุณแม่ราบรื่นยิ่งขึ้นแน่นอนค่ะ