ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลต่อสุขภาพของทารกและคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ เกิดขึ้นในหญิงมีครรภ์ประมาณ 2-8 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงไตรมาสแรก (First trimester screening for Pre-eclampsia) ช่วยให้แพทย์สามารถพยากรณ์โรคประเมินการดูแลรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเกิดภาวะนี้ ส่งผลต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดต่อทั้งทารกและคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
จากการศึกษาวิจัย ASPRE และ FIGO Guideline แนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายในช่วง 11-13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อระบุผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
การตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทำได้ในช่วงอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ 6 วัน สามารถทำได้จากการประเมินประวัติของคุณแม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ ค่าความดันโลหิต และการวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดที่เลี้ยงมดลูก (Uterine artery) ร่วมกับการตรวจสารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษซึ่งได้แก่ ระดับโปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือด (PlGF: Placental Growth Factor) และโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด (sFlt-1: Soluble Fms-like Tyrosine Kinase-1) ถ้าระดับของโปรตีน 2 ตัวนี้ไม่สมดุลกัน คือระดับของ PlGF ต่ำลงในขณะที่ระดับของ sFlt-1 สูงขึ้น นั่นอาจแสดงให้แพทย์ทราบได้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งแพทย์จะได้ติดตามอาการและวางแผนการดูแลรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
N Health เปิดให้บริการเพื่อคัดกรองประเมินความเสี่ยงของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังต่อไปนี้
* ตรวจภาวะเสี่ยงต่อโรค Down syndrome และ ภาวะเสี่ยงของ Pre-eclampsia ในระยะ first trimester
ที่มา :
• https://rh.perkinelmer.com/th/prenatal-testing/pre-eclampsia/
• https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6820/
• https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4354613/Risk factors and effective management of preeclampsia
• https://haamor.com/th/ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)